ความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนำเสนองาน
ในอดีตมนุษย์ได้พยายามใช้เทคโนโลยีในยุคนั้นนำเสนอข้อมูล สารสนเทศ การเล่าเรื่อง เช่น การเขียนภาพในผนังถ้ำ ถือเป็นการใช้เทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือ ที่ใช้เขียน สลัก ขูดขีดให้เป็นรอย หรือแม้แต่ดินสีที่ใช้เขียน การนำเสนอนั้นยังเป็นหลักฐานคงทนให้มนุษย์ปัจจุบันได้ศึกษา ได้ใช้เทคโนโลยีสารสนสนเทศสร้างคุณภาพชีวิต คุณภาพทางการศึกษา คุณภาพสังคม และคุณภาพของธุรกิจ ในบริษัทหรือองค์กร
ความหมายของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนำเสนองาน
เทคโนโลยีสารสนเทศนำเสนองาน หมายถึง การถ่ายทอดความคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่มีวัตถุประสงค์แน่ชัด ในกลุ่มเป้าหมายเข้าใจภายในเวลากำจัด โดยใช้เครื่องมือ อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสื่อกลางในการนำเสนองานไปสู่กลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของผู้นำเสนอ
วัตถุประสงค์ในการนำเสนองาน
เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการออกแบบสื่อเพื่อการนำเสนองาน การใช้อุปกรณ์สารสนเทศที่สอดคล้องระหว่างสื่อกับวัตถุประสงค์ในการนำเสนอ โดยสามารถจำแนกวัตถุประสงค์ในการนำเสนอ ได้ดังนี้
1.นำเสนอให้ทราบ เป็นการนำเสนอที่ต้องการบอกกล่าว บอกเล่าข้อเท็จจริง เพื่อแก้ข้อขัดแย้งที่มีอยู่เดิมหรือยืนยัน และการนำเสนอข้อมูลใหม่ๆ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับทราบเพิ่มเติม
2.นำเสนอเพื่อการศึกษา เป็นการนำเสนอที่ต้องการให้เกิดความรู้กับกลุ่มเป้าหมาย การนำเสนอข้อค้นพบในผลงานใหม่ เช่น ผลการทดลองโครงงาน ผลการทดสอบประสิทธิภาพของโปรแกรมที่พัฒนา
3.การนำเสนอเพื่อความบันเทิง เป็นการนำเสนอที่ให้ความสนุกสนานการผ่อนคลายเป็นหลัก โดยอาจจะเป็นการนำเสนอด้านเดียวจากผู้นำเสนอ เช่น การร้องเพลง การอ่านคำกลอน
4.การนำเสนอเพื่อโน้มน้าวใจ เป็นการนำเสนนอที่ชักชวน ชวนเชื่อชักจูงให้กลุ่มเป้าหมายคล้อยตาม ยอมรับและปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ของผู้นำเสนอ ซึ่งเป็นหัวใจขององค์กรธุรกิจอุตสาหกรรมที่ต้องการเพิ่มผลผลิตหรือกำไร
การนำเสนอนั้นอาจจะมีวัตถุประสงค์ของการนำเสนอมากกว่าหนึ่งวัตถุประสงค์ในการนำเสนอครั้งเดียวกัน เช่น การนำเสนอเพื่อการบันเทิงและเพื่อโน้มน้าวใจ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ของการนำเสนอนั้นอาจไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของผู้ได้รับการนำเสนอก็ได้
ขั้นตอนการนำเสนองาน
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อนำเสนองาน มีขั้นตอนดังนี้
1.ศึกษาวัตถุประสงค์ในการนำเสนอ เพื่อให้นำเสนอได้ตรงประเด็น กระชับ และรูว่าต้องมีข้อมูลในกานนำเสนอมากน้อยเพียงใด
2.วิเคราะห์และเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย เป็นการศึกษาเข้าใจธรรมชาติของกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้รับการนำเสนอ โดยมีแนวการศึกษากลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการนำเสนอ ดังนี้
1) กลุ่มเป้าหมายคือใคร เกี่ยวข้องกับเรื่องที่นำเสนออย่างไร
2) แนวความคิดและประสบการณ์ของกลุ่มผู้ฟัง
3) ความคาดหวังของกลุ่มผู้ฟัง
4) ระดับความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ในเนื้อหาที่นำเสนอของกลุ่มผู้ฟัง
5) ภูมิหลังหรือเรื่องราวที่อาจมีอิทธิพลต่อกลุ่มผู้ฟัง
6) ทัศนคติและสิ่งที่ผู้ฟังรับรู้เกี่ยวกับผู้นำเสนอ
7) ข้อมูลอื่นๆ เช่น จำนวนผู้ฟัง ช่วงเวลาในการนำเสนอ ระยะเวลาที่ใช้ในการนำเสนอ ลำดับการนำเสนอ สถานที่ประชุม
3. วางแผนการนำเสนอ เป็นการเตรียมเนื้อหาที่จะสื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับข้อมูลตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ และควรกำหนดขอบเขตเนื้อหาที่กลุ่มเป้าหมายควรรู้
4.ผลิตสื่อประกอบการนำเสนอ จะช่วยให้กลุ่มเป้าหมายมองเห็นภาพรวมของข้อมูลและติดตามเนื้อหาได้ทัน
5.เตรียมบุคลิกภาพขณะนำเสนอ บุคลิกภาพที่ดีเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดความมั่นใจในขณะพูดทำให้ผู้ฟังประทับใจ และสนใจติดตาม บุคลิกภาพขณะนำเสนอที่ควรทำมี ดังนี้
1) ภาษา ต้องเหมาะสมกับระดับวัย การศึกษาของกลุ่มเป้าหมาย สื่อความเข้าใจได้ดี
2) การใช้เสียง ควรใช้เสียงให้เป็นธรรมชาติ ระดับเสียงดังสม่ำเสมอ
3) การใช้สายตา เป็นสิ่งที่ดึงดูดสายตาผู้คน และควรสบตาให้ทั่วถึง
4) การแต่งกาย เป็นสิ่งแรกที่ดึงดูดสายตาผู้คน สามารถบ่งบอกถึงบุคลิกภาพ นิสัย และทำให้ผู้ฟังเกิดความประทับใจและน่าเชื่อถือ
http://bigbangthemyfriand.blogspot.com/2013/02/3.html